บทที่ 3 สื่อบันทึกข้อมูล

การบันทึกข้อมูลนั้น นอกจากจะใช้หน่วยความจำหลักที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่กล่าวไว้ในบทที่แล้ว ยังมีสื่อบันทึกข้อมูลอีกหลายชนิดที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์  ใช้เก็บข้อมูลที่อาจสูญหายจากหน่วยความจำแรม ซึ่งก็คือหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีจำนวนมากมาย  ได้แก่  เทป  จามแม่เหล็ก  ฟล็อปปี้ดิสก์  ฮาร์ดดิสก์  ออปติคอลดิสก์ วอร์มซีดี  เอ็มโอดิสก์  CD DVD HDDVD  ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของสื่อบันทึกข้อมูลแต่ละชนิดต่อไป
ประเภทของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
หน่วยเก็บข้อมูลสำรองสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะการเข้าถึง  (Access) ข้อมูลดังนี้
1.                สื่อที่มีการเข้าถึงข้อมูลตามลำดับ (Sequential  Access)  เป็นสื่อที่ต้องมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลโดยการเรียงตามลำดับของข้อมูล  ตัวอย่างเช่น  เทปแม่เหล็ก  (Magnetic  Tape)  มีหลักการทำงานเหมือนกับการใช้งานเทปวิทยุที่ใช้ตามบ้าน  เช่น  เรามีตลับเทปเพลงที่มี เพลงอยู่ทั้งหมด 10 เพลง  ถ้าต้องการฟังเพลงที่ 4 เราจะต้องทำการหมุน (Rewind) เทปหรือที่เรียกว่ากรอเทปจากต้นม้วนไล่หาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงตำแหน่งของเทปที่มีเพลงที่ 4 บันทึกอยู่ การค้นหาที่ต้องค้นจากข้อมูลที่อยู่ในลำดับแรกสุดก่อนไปยังข้อมูลในลำดับถัดไปเรื่อยๆ นี้ เรียกว่าเป็นการเข้าถึงข้อมูลแบบตามลำดับนั่นเอง
2.                สื่อที่มีการเข้าถึงข้อมูลแบบโดยตรงหริอแบบสุ่ม (Direct or Random Access)  เป็นสื่อที่สามารถจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้โดยตรง  โดยไม่จำเป็นต้องอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ  เช่น  จานแม่เหล็ก  (Magnetic  Disk)  หลักการทำงานขอสื่อประเภทนี้จะเหมือนกับการใช้งานคอมแพคดิสก์  (Compact  Disk)  หรือที่เรียกว่าแผ่นซีดี  (CD)   ที่ใช้กับวิทยุตามบ้าน  ถ้าเราต้องการฟังเพลงใดก็เลือกจามหมายเลขแทร็ก  (Track)  ได้โดยตรง  เครื่องอ่านก็จะไปยังตำแหน่งหมายเลขแทร็กนั้นและอ่านเพลงที่ต้องการออกมาใช้โดยไม่ต้องเรียงลำดับการเข้าถึงของเพลงเหมือนกับเทป
ในปัจจุบันมีสื่อบันทึกข้อมูลให้เลือกให้หมายเลขชนิด คือ
เทปแม่เหล็ก  (Magnetic  Tape) 
เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้กันมานานแล้ว ลักษณะของเทปเป็นแถบสายพลาสติก เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก เหมือนเทปบันทึกเสียง เทปแม่เหล็กใช้สำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมาก มีการจัดเก็บและเรียกค้นข้อมูลแบบเป็นลำดับ เพราะฉะนั้นการเข้าถึงก็จะเป็นแบบการเข้าถึงโดยลำดับ (sequential access) เช่น ถ้าต้องการหาข้อมูลที่อยู่ในลำดับที่ 5 บนเทป เราจะต้องอ่านข้อมูลลำดับต้นๆ ก่อนจนถึงข้อมูลที่เราต้องการ ส่วนการประยุกต์นั้นเน้นสำหรับใช้สำรองข้อมูลเพื่อความมั่นใจ เช่น ถ้าฮาร์ดดิสก์เสียหาย ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์อาจสูญหายได้ จึงจำเป็นต้องเก็บสำรองข้อมูลไว้


เทปแม่เหล็ก

           ในอดีตใช้เทปม้วนใหญ่ แต่ปัจจุบันการผลิตเทปทำได้ดีมากขึ้น ตลับเทปที่ใช้กับคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงมาก เรียกเทปพวกนี้ว่า
เทปคาร์ทริดจ์ (cartridge tape) เทปแม่เหล็กมีความจุต่อม้วนสูงมาก จึงนิยมใช้สำหรับสำรองข้อมูลจำนวนมาก การสำรองข้อมูลโดยทั่วไปมักจะกำหนดตามสภาพการใช้งานเป็นระยะเวลา เช่นสำรองข้อมูลทุกสัปดาห์ การสำรองข้อมูลแต่ละครั้งอาจใช้เวลาหลายสิบนาที
จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk)
สามารถเก็บข้อมูลได้เป็น จำนวนมาก เข้าถึงข้อมูลโดยตรง ไม่ต้องอ่านไปตามลำดับเหมือนเทป จานแม่เหล็กต้องใช้ควบคู่กับตัวขับจานแม่เหล็ก หรือดิสก์ไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์สำหรับเขียนอ่านจานแม่เหล็ก
           เป็น สื่อของการใช้หลักการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม ก่อนที่จะใช้จานแม่เหล็กเก็บข้อมูล จะต้องผ่านขั้นตอนการฟอร์แมตก่อน เพื่อเตรียมจานแผ่นแม่เหล็กให้พร้อมสำหรับเครื่องรุ่นที่จะใช้งาน โดยหัวอ่านและบันทึกจะเขียนรูปแบบของแม่เหล็กลงบนผิว ของแผ่นจานแม่เหล็ก เพื่อให้การบันทึกข้อมูลลงแผ่นจานแม่เหล็กในภายหลังทำตมรูปแบบดังกล่าว การฟอร์แมตแผ่นจานบันทึกจัดเป็นงานพื้นฐานหนึ่งของระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลขะถูกบันทึกลงบนแผ่นจานที่ฟอร์แมตไว้แล้ว คือแบ่งในแนว วงกลมรอบแกนหมุนเป็นหลายๆ วงเรียกว่า แทรก แต่ละแทรกถูกแบ่งออกเป็นชั้นขนมเค้ก เยกว่า เซกเตอร์ และถ้ามีเซกเตอร์มากกว่าหนึ่งเซกเตอร์เรียรวมกันว่าคลัสเตอร์ ในปัจจุบันมีจานแม่เหล็กที่ได้รับความนิยมสูงสุดอยู่สองชนิด คือ ฟลอปปีดิสก์ และ ฮาร์ดดิสก์
ฟลอปปีดิสก์และดิสก์ไดร์
           เป็นแผ่นพลาสติกวงกลมมีขนาด 3.5 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว สามารถอ่านด้วยดิสก์ไดร์ แผ่นชนิด 3.5 นิ้วเป็นรุ่นที่ใหม่กว่าบรรจุอยู่ในพลาสติกชนิดแข็ง ดิสก์ไดร์ มีหน้าที่สองชนิด คือ อ่านและบันทึก โดยหลักการอ่านมีการทำงานคล้ายซีดีเพลง ส่วนการบันทึกมีหลักการคล้ายกับการบันทึกเสียงลงในเทปบันทึกเสียง ต่างกันที่ผู้ใช้ไม่ต้องกดปุ่มใดๆ เพราะโปรแกทฃรมที่ใช้งานจะจัดการให้อัตโนมัติ แผ่นดิสเกตต์จะมีแถบป้องการบันทึก ผู้ใช้สามารถเปิดแถบนี้เอป้องกันไม่ให้มีการบันทึกข้อมูลอื่นทับหรือลบไป จำนวนข้อมูลที่เก็บอยู่ในแผ่นดิสเกตต์ ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของสารแม่เหล็ก โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดิสก์ความจุสองเท่า ส่วนอีกชนิดหนึ่ง คือดิสก์ความจุสูง เก็บข้อมูลได้มากกว่าดิสก์ที่เก็บข้อมูลได้เป็นสองเท่า ในปัจจุบันมีดิสเกตต์ชนิดพิเศษที่มีความจุสูงถึง 120 MB ต่อแผ่นซึ่งใช้เทคโนโลยีด้านเลเซอร์ เรียกว่า Laser Servo (LS) เริ่มนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสะดวกในการเก็บข้อมูลแฟ้มขนาดใหญ่ รวมทั้งสามารถอ่านดิสกเกตต์ขนาด 720 KB และ 1.44 KB และมีอัตราการโอนถ่ายข้อมูลเร็วกว่าดิสเกตต์ปกติ ถึง 5 เท่า
ดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว
ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว
ความจุสองเท่า
360 KB
720 KB (IBM)
800 KB (MAcintosh)
ความจุสูง
1.2 MB
1.44 KB (IBM)
1.44 KB (MAcintosh)
ความจุสูงพิเศษ
40
120 MB
ฮาร์ดดิสก์
           ทำ มาจากแผ่นโลหะแข็ง เรียกว่า Platters ทำ ให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าและทำงานได้เร็ว ส่วนมากจะถูกยึดติดอยู่ในคอมพิวเตอร์มีบางรุ่นที่เป็นแบบเคยื่อนย้ายได้ ฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ประกอบด้วยจานแม่เหล็กหลายๆ แผ่น สามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองหน้าของผิวจานแม่เหล็ก โดยที่ทุกแทรกและเซกเตอร์ ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ชุดหนึ่งจะเรียกว่า ไซลินเดอร์ แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนเร็วมาก โดยที่หัวอ่านและบันทึกจะไม่สัมผัสกับผิวของจานแม่เหล็ก ดังนั้นจึงอาจจมีความผิดพลาดและเสียหายเกิดขึ้น ถ้ามีสิ่งบางอย่าง เช่น ฝุ่น ฮาร์ดดิสก์ชุดหนุ่งประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กจำนวนหลายแผ่นทำให้เก็บข้อมูล ได้มากกว่าฟลอปปีดิสก์ ปัจจุบันมีความจุเริ่มตั้งแต่ 1 GB ขึ้นไป นอกจากนี้ยังหมุนด้วยความเร็วมาก คือตั้งแต่ 3,600 รอบต่อวินาทีขึ้นไป ทำให้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว


ออปติคัลดิสก์ (Opticaj Disk)
           ใช้เทคโนโลยีขอแสงเลเซอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาลในราคาที่ไม่แพงนัก ในปัจจุบันจะมีออปติคอลดิสก์อยู่หลายแบบซึ่งใช้เทคดนดลยีที่แตกต่างกันไป เช่น
ซีดี  (Compact   Disk  :  CD )
ใช้ตัวย่อว่า CD เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุก วัน เครื่อง คอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยบันทึกที่อ่านจานบันทึกนี้ได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว (ภาพยนตร์) หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ นิยมใช้ในระบบเครือข่าย ทำให้สะดวกสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามสาย (on line) ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคายังค่อนข้างแพง

วอร์มซีดี (Worm CD)
          สามารถ บันทึกข้อมูลลงในแผ่นวอร์มซีดีได้หนึ่งครั้ง และสามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้ขึ้นมากี่ครั้งก็ได้ แต่จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่เบไว้ได้อีกต่อไป แผ่นวอร์มซีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 600 เมกะไบต์ ไปจนถึงมากกว่า 3 จิ กะไบต์ วอร์มซีดีมีจุดด้อยกว่าซีดีรอมในเรื่องของการไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนคือแผ่น วอร์มซีดีต้องใช้กับเครื่องอ่านรุ่นเดียวที่ใช้กับการบันทึกเท่านั้น ทำให้มีการใช้งานในวงแคบ
เอ็มโอดิสก์ (MO)
          เอ็ม โอไดร์ฟใช้แสงเลเซอร์ในการช่วยบันทึกและอ่านข้อมูล ทำให้สามารถอ่านและบันทึกแผ่นกี่ครั้งก็ได้คล้ายกับฮาร์ดดิสก์ เคลื่อนย้ายได้คล้ายแผ่นฟลอปปีดิสก์ มีความจุสูงมาก คือตั้งแต่ 200 MB ขึ้นไปรวมทั้งมีความเร็วที่สูงกว่าแบบฟลอปปีดิสก์และซีดีรอม แต่ช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ ข้อดีของเอ็มโอดิสก์ คือ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในเอ็มโอดิสก์จะปลอดภัยจากสนามแม่เหล็กมีอายุการใช้งานนาน ได้ถึงกว่า 30 ปีทีเดียว ข้อเสียของเอ็มโอดิสก์ คือ ราคาเครื่องขับแผ่นค่อนข้างสูงแยู่ และเวลาที่ใช้ในการอ่ดีวีดี (DVD)
          แผ่น ดีวีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ำสุดที่ 4.7 จิกะไบต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับเก็บภาพยนตร์ได้เต็มเรื่องข้อกำหนดของดีวีดี มีควาวมจุได้ตั้งแต่ 4.7 GB ถึง 17 GB และมีความเร็วในการเข้าถึง อยู่ที่ 600 กิโลไบต์ต่อวินาที ถึง 1.3 เมกะ ไบต์ต่อวินาที รวมทั้งสามารถอ่านแผ่นซีดีรอมแบบเก่าได้ด้วย และยังมีข้อกำหนดสำหรับเครื่องรุ่นที่สามารถอ่านและเขียนแผ่นดีวีดีได้ในตัว ซึ่งกำลังจะตามออกมา านเขียนที่ยังช้ากว่าฮาร์ดดิสก์มากเนื่องจากการแกไขของ แผ่นจะเกิดการทำงาน 2 ขั้นตอน คือลบข้อมูลออกแล้วเขียนข้อมูลเข้าไปใหม่
ดีวีดี  (Digital  Versatile  Disk : DVD)
 ดีวีดี (Digital Versatile Disk - DVD) ในการจะอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีนั้นจะต้องมี
DVD – Drive แผ่นดีวีดีนั้นไม่สามารถอ่านได้ในทั้ง CD-ROM Drive และ CD-Write Drive โดยที่ข้อดีของดีวีดีก็คือสามารถจุข้อมูลได้มาก คือ ตั้งแต่ 4.7 GB – 18.8 GB และมีความเร็ว ในการเข้าถึง (Access Time) อยู่ที่ 600 กิโลไบต์ต่อวินาที ถึง 1.3 เมกะไบต์ต่อวินาที รวมทั้งสามารถอ่านแผ่นซีดีรอมแบบเก่าได้ด้วย และปัจจุบันก็มี DVD-Writer จำหน่ายแล้วด้วย ซึ่งจะต้องใช้แผ่น DVD-R หรือ DVD-RAM เป็นสื่อในการบันทึกข้อมูล แต่ว่ามีข้อเสีย
ในเรื่อง ของราคาที่ยังสูงมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น